ตลาดหนังสือดิจิตอลยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เมื่อล่าสุดทาง Sony (โซนี่) ได้พัฒนาระบบป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์อีบุ๊คที่เรียกว่า eฺBook DRM โดยระบบดังกล่าวมีแนวคิดแบบเดียวกับ Adobe DRM ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง การเปิดตัว Sony eBook DRM จึงนับว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะเจาะพอดี เพราะคู่แข่งอย่าง Adobe เพิ่งจะเจอกับปัญหาทำข้อมูลผู้ใช้รั่วไหลไปหมาด ๆ (อ่านเพิ่มเติม : Adobe Digital Editions เก็บข้อมูลผู้อ่าน) ทั้งนี้ในเว็บไซต์ the-ebook-reader.com กล่าวว่าระบบของโซนี่จะยืดหยุ่นมากกว่าและปลอดภัยสูงกว่า และเป็นไปได้ว่าระบบดังกล่าวจะเปิดให้มีการให้เช่า eBook รวมไปถึงการขายอีบุ๊คมือสองอีกด้วย ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวจึงทำให้ผู้จัดจำหน่ายมีรายได้มากขึ้นนั่นเอง
ทั้งนี้โซนี่ได้พัฒนาระบบการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวมานานกว่า 3 ปี และโฆษกของโซนี่กล่าวว่าบริษัทได้เริ่มทำสัญญากับสำนักพิมพ์บางแห่งบ้างแล้วด้วย แม้จะไม่มีสัญญาณอะไรที่แน่ชัดแต่ก็คาดว่าผู้อ่านอีบุ๊คน่าจะได้ใช้ระบบดังกล่าวในปี 2015 ซึ่งก็น่าจับตามองดูว่าผลิตภัณฑ์ของโซนี่จะประสบความสำเร็จแค่ไหน โดยเฉพาะแนวคิดเกี่ยวกับการจัดระบบการซื้อขายอีบุ๊คมือสองที่เรียกกันว่า Used eBook ด้วยแล้ว เพราะตอนนี้มีหลาย ๆ บริษัทก็อยากจะบุกตลาดส่วนนี้ด้วยเหมือนกัน
Photo: Amazon.com , Stephen Brace
Source: the-ebook-reader.com , the-digital-reader.com
อ่านพาดหัวแล้วอาจจะดูรุนแรงไปสักหน่อย แต่สำหรับเกมส์แมวจับหนูระหว่างสำนักพิมพ์กับบรรดานักโหลดของฟรีทั้งหลายคงเป็นการต่อสู้ที่ไม่วันจบสิ้น ล่าสุดสำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่อย่าง HarperColllins ได้หาวิธีใหม่เพื่อลดการโหลดอีบุ๊คแบบละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการใช้เทคโนโลยี ลายน้ำดิจิตอล ฝังลงในหนังสืออิเล็คทรอนิกส์เพื่อสืบหาต้นตอว่าอีบุ๊คที่วางจำหน่ายได้รั่วไหลไปยังสถานที่ที่(สำนักพิมพ์) ไม่ปรารถนาที่ใดบ้าง
ผู้บริหารฝ่ายผลิตภัณฑ์ดิจิตอลของสำนักพิมพ์กล่าวว่า ปัจจุบันมีร้านค้าปลีกแบบ E-Tailers ได้จัดจำหน่ายหนังสือของสำนักพิมพ์ไปทั่วโลกและล่าสุดทาง HarperColllins ยังได้มีข้อตกลงให้ทาง JD.com ให้เป็นผู้จัดจำหน่ายอีบุ๊คในประเทศจีนอีกด้วย ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยลดโอกาสที่หนังสือจะหลุดออกไปในเวลาและสถานที่อันไม่สมควรได้ ถ้าหากมีการตรวจพบว่ามีหนังสือถูกอัพโหลดอย่างผิด ๆ ทาง HarperColllins จะรู้ทันทีว่าหนังสือหลุดมาจากร้านค้าปลีกร้านไหน หลังจากนั้นทางร้านค้าจะถูกเตือนให้เพิ่มระบบความปลอดภัยหรือไม่ก็ถูกยกเลิกการเป็นคู่ค้าไปเลย
นอกจาก HarperColllins แล้วผู้จัดจำหน่ายอีบุ๊คอย่าง LibreDigital ก็ตกลงใช้เทคโนโลยีดังกล่าวด้วยเหมือนกัน และบริษัทที่ให้บริการก็ได้แก่ Digimarc ที่ใช้ชื่อเทคโนโลยีดังกล่าวว่า Digimarc® Guardian Watermarking
สำหรับการฝังลายน้ำดิจิตอลนั้น สามารถทำกับอีบุ๊คได้หลายฟอร์แมททั้ง PDF, ePub และ Mobi และแม้ว่าระบบดังกล่าวจะสามารถตรวจจับได้ว่าใครคือผู้ที่ดาวน์โหลดอีบุ๊คเถื่อนไปก็ตาม ทาง Digimarc ก็กล่าวว่าบริษัทจะไม่เก็บข้อมูลของผู้ใช้แต่จะเก็บข้อมูลเป็นแบบผู้ใช้นิรนามแทน (Anonymous Digital IDs)
เทคโนโลยีลายน้ำดิจิตอล (Digital Watermark) เป็นคนละอย่างกันกับการเข้ารหัสหนังสืออิเล็คทรอนิกส์ที่เรียกกันว่า DRM (Digital Rights Management) โดยที่ DRM จะเข้ารหัสหนังสือไว้เพื่อไม่ให้มีการดาวน์โหลดและอัพโหลดหนังสือ แต่ลายน้ำดิจิตอลเป็นเทคโนโลยีที่ผู้ใช้ไม่รู้สึกถึงการมีตัวตนอยู่ (Invisible) โดยมีจุดประสงค์เพื่อสะกดรอยไปหาที่ต้นตอของผู้ที่แอพอัพโหลดหนังสือไว้ เมื่อทำการตรวจสอบว่ามีการอัพโหลดดาวน์โหลดแบบละเมิดอย่างแน่นอนแล้ว จะทำการแจ้งไปยัง Search Engine (อย่างเช่น Google) เพื่อให้ปลดเว็บไซต์เหล่านั้นออกจากการค้นหา ส่วนผู้ที่อัพโหลดดาวน์โหลดอาจจะมีการดำเนินกฎหมายต่อไปอีกหรือไม่ยังไม่มีรายละเอียดแน่ชัด
ผู้อ่าน คนที่ซื้ออีบุ๊คอย่างถูกต้องสามารถดาวน์โหลดอัพโหลดอีบุ๊คไปอ่านในเครื่องอีรีดเดอร์หรือแท็บเล็ตที่ได้ลงทะเบียนไว้ การอ่านอีบุ๊คจะไม่ถูกจำกัดอยู่ใน App ที่ตัวเองซื้อเท่านั้น ในปัจจุบันข้อจำกัดที่น่าหงุดหงิดใจสำหรับคนอ่านอีบุ๊คก็คือเมื่อซื้อมาแล้วกลับอ่านได้แต่ใน App หรือ Ecosystem บางตัว เท่านั้น ทำให้ไม่รู้สึกว่าเป็นเจ้าของหนังสือที่แท้จริง
นักเขียน การลดการดาวน์โหลดอย่างผิด ๆ ลง ก็เป็นโอกาสที่จะขายได้มากขึ้น
สำนักพิมพ์ รวมไปถึงผู้ดูแลลิขสิทธิ์ การละเมิดลิขสิทธิ์เพลงในยุคที่ mp3 ระบาดในยุคแรก ๆ ส่งผลกระทบรุนแรงจนทำให้บริษัทเพลงหลายแห่งบาดเจ็บสาหัส แม้กระทั่งในไทยเราเอง ยอดขายเทปและซีดีของแท้ถึงกับชะงักไปหลายปี จนกระทั่งวงการเพลงเริ่มฟื้นตัวขึ้นมาได้อีกครั้ง เมื่อเริ่มมีการจัดการขายเพลงดิจิตอลอย่างมีมาตรฐาน เช่น iTunes และช่องทางอื่น ๆ
Source: gizmodo.com , publishersweekly.com , digimarc.com , digitaltrends.com
ในบทความก่อนหน้านี้ทางเว็บ Thai Publisher ได้เขียนถึง App อ่าน eBook (อีบุ๊ค) ชื่อดังอย่าง Adobe Digital Editions ว่าได้มีช่องโหว่ทำให้ข้อมูลของผู้อ่านอีบุ๊ครั่วไปบนเครือข่ายอินเตอร์เนตนั้น เวลานี้แอพที่ให้บริการอ่าน ePub (อีพับ) ดังกล่าวได้ออกมาแก้ข้อผิดพลาดด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้อ่านอีบุ๊คกันแล้ว โดยที่เว็บไซต์ทางการของ Adobe ได้อัพเดทแอพลิเคชั่นอ่านอีบุ๊คดังกล่าวในเวอร์ชั่น ADE 4.0.1
โดยในการอัพเดทล่าสุด ทาง Adobe ได้ทำการเข้ารหัสข้อมูลของผู้ใช้งานแบบ HTTPS จึงทำให้ผู้ใช้งานแอพ Adobe Digiatal Editions เวอร์ชั่น ADE 4.0.1 จะไม่ต้องกังวลเรื่องข้อมูลส่วนตัวว่าจะรั่วอีกต่อไป โดยที่ทางเว็บ Adobe.com ได้แจ้งว่า
[highlight]Enhanced security for transmitting rights management and licensing validation information. With this latest version of Digital Editions 4.0.1, the data is sent to Adobe in a secure transmission (using HTTPS). More privacy-related information for Adobe Digital Editions 4.0.1 is provided here.[/highlight]
ทางด้านเว็บไซต์ the-digital-reader.com ซึ่งเป็นผู้เริ่มต้นรายงานในประเด็นความเป็นส่วนตัวของ App ดังกล่าวเป็นเว็บแรก ๆ ได้กล่าวว่าทางเจ้าของบทความรวมถึงผู้อ่านรายอื่น ๆ ได้ทำการทดสอบดูแล้วก็เชื่อได้ว่าข้อมูลของผู้ใช้ได้ถูกเข้ารหัสให้มีความปลอดภัยมากขึ้นแล้ว แต่ทั้งนี้ทางเว็บก็ได้ตั้งข้อสังเกตว่าเรายังไม่อาจแน่ใจได้ว่าทาง Adobe ยังคงเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้อ่านอีบุ๊คอยู่อีกต่อไปหรือไม่ เพราะเว็บทางการของ Adobe ได้บอกเพียงว่าข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสเหล่านั้นจะถูกอัพโหลดไปยัง Server ของทาง Adobe อยู่นั่นเอง ! ในบทความดังกล่าวยังได้แนะนำผู้ใช้งานต่อไปว่า ผู้อ่านอีบุ๊คควรใช้ Firewall เพื่อทำการบล็อค ไม่ให้แอพดังกล่าวได้ทำการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เนต หรืออีกทางหนึ่งก็คือให้หันกลับไปใช้เวอร์ชั่นเก่ากว่านี้ ก่อนที่จะมีการเก็บข้อมูลผู้ใช้นั่นเอง หรือถ้าหากยังไม่มั่นใจก็ให้หันไปใช้บริการซื้ออีบุ๊คจากร้านขายหนังสือออนไลน์ เจ้าอื่น ๆ อย่างเช่น Amazon เป็นต้น อย่างไรก็ตามผู้เขียนบทความก็ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า แต่เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าอเมซอน และเว็บไซต์ขายหนังสือออนไลน์รายอื่นนั้นจะเก็บข้อมูลผู้ใช้ด้วยหรือเปล่า !
Adobe Digital Editions เป็นแอพลิเคชั่นอ่านอีบุ๊คที่มีผู้ใช้หลายล้านคน ซึ่งผู้อ่านใช้แอพดังกล่าวในการสั่งซื้อหนังสือออนไลน์จากร้านขายอีบุ๊คออนไลน์ จากนั้นตัวแอพลิเคชั่นจะทำการส่งหนังสืออิเล็คทรอนิกส์ไปยังเครื่องอีรีดเดอร์และแท็บเล็ตของผู้อ่านแต่ละคน นอกจากนี้ห้องสมุดออนไลน์ในสหรัฐจำนวนมาก ก็ใช้บริการแอพดังกล่าวในการจัดการ การยืม-การคืน อีบุ๊คอีกด้วย การที่ข่าวเรื่องข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานนั้นไม่มีความปลอดภัย ยังทำให้ห้องสมุดหลายแห่งออกมาส่งจดหมายแจ้งให้ทาง Adobe ได้ทำการแก้ไขประเด็นดังกล่าวด้วย อย่างเช่น OverDrive’s statement about Adobe Digital Editions privacy concerns , Adobe responds to ALA on egregious data breach
[box]บทความที่เกี่ยวข้องPhoto Credit : Unsplash ,
Source: adobe.com , goodereader.com , dearauthor.com , the-digital-reader.com
Adobe Digital Editions เป็น แอพอ่านหนังสือประเภท ePub ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกมากที่สุดตัวหนึ่ง เพราะโปรแกรมนี้ใช้การป้องกันการดาวน์โหลดอีบุ๊คไปอ่านแบบละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการเข้ารหัสที่เรียกกันว่า DRM (Digital Rights Management) และใช้การลงทะเบียนในการอ่านด้วย Adobe ID จึงช่วยให้ผู้ขายได้ปกป้องการละเมิดลิขสิทธิ์ในผลงานของตัวเองไปในตัว และผู้ซื้อเองก็อ่านจากแอพได้สะดวกอีกด้วย ด้วยระบบความปลอดภัยดังกล่าวนี้เอง ห้องสมุดอิเล็คทรอนิคส์ (eBook Library) หลายพันแห่งในสหรัฐจึงใช้แพลตฟอร์มของ Adobe Digital Editions เพื่อให้บริการยืมอ่านหนังสือประเภทอีบุ๊คได้อย่างสะดวกง่ายดาย ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมาฟังดูแล้วแสนจะสะดวกโยธิน แต่มันก็มีเหตุให้คนอ่านตะขิดตะขวงใจขึ้นมาได้ เมื่อรู้ว่าตัวเองถูกจับตามองว่ากำลังอ่านอะไรอยู่!
และนอกไปจากโปรแกรมและแอพลิเคชั่น Adobe Digital Editions แล้ว ผู้ที่ใช้โปรแกรมอ่านไฟล์ PDF ฟรีอย่าง Adobe Reader ก็ไม่รอดเช่นกัน เพราะ Adobe Reader ก็ร่วมขบวนการเก็บข้อมูลผู้ใช้ไปแบบนิ่ม ๆ ด้วยเหมือนกัน
เรื่องแดงขึ้นมาเมื่อผู้เขียนบทความนามว่า Nate Hoffelder ในบล็อค The digital reader ได้รับการรายงานจากผู้อ่านหลายคนว่าข้อมูล logs การใช้งานของพวกเขาถูกส่งไปที่ห้องสมุดเหล่านั้น แต่ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ ข้อมูลเหล่านี้ถูกส่งผ่านวิ่งไปมาบนอินเตอร์เนตโดยไม่มีการเข้ารหัสไว้แต่อย่างใด และถ้าใครสามารถเข้าถึง network traffic ได้ ก็สามารถจะอ่านข้อมูลส่วนตั๊วส่วนตัวได้เลยทันที ส่วน ‘ใคร’ ที่ว่านี้ ในบทความนี้ก็ได้กล่าวไว้ว่าได้แก่ National Security Agency, Internet service providers and cable companies, or others sharing a public Wi-Fi network
โดย Nate Hoffelder กล่าวว่าเขาได้แจ้งข้อมูลที่เขาพบไปทาง Adobe แล้วแต่คำตอบที่ได้รับกลับมา คือ เงียบ! ไม่มีคำตอบ แต่แล้วต่อมาทางโฆษกของ Adobe ก็ออกมากล่าวว่า “ทางเรากำลังดำเนินการอัพเดทเกี่ยวกับการส่งข้อมูลเหล่านี้อยู่ และจะแจ้งให้ทราบความคืบหน้าต่อไป”
Photo Credit : fusion-of-horizons , Saad Faruque
Source: the-digital-reader.com , arstechnica.com , eff.org