ตลาดหนังสือเสียงในสหรัฐดูจะคึกคักและเป็นมิตรกับเงินในกระเป๋าของนักอ่านมากขึ้น เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมาทาง Scribd ได้เพิ่ม Audiobooks (หนังสือเสียง) เข้าไปในคอลเล็คชั่นให้สมาชิกได้เลือกฟังกันเป็นจำนวนมากกว่า 30,000 เรื่องด้วยกัน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้ Scribd กลายเป็นผู้ให้บริการอีบุ๊คและออดิโอบุ๊คแบบรายเดือน (Membership Subscription) ที่มีจำนวนหนังสือให้เลือกอ่านและฟังมากที่สุด
ใช่ว่าจะมีแต่ปริมาณอย่างเดียว เพราะถ้ามองที่หัวหนังสือแล้วจะเห็นว่า มีหนังสือออกใหม่และหนังสือขายดีติดอันดับอยู่เพียบ ไม่ว่าจะเป็น The Drop ของ Dennis Lehane, How to Build a Girl ที่เขียนโดย Caitlin Moran, Bad Feminist จาก Roxane Gay, The Hard Thing About Hard Things ของ Ben Horowitz, The Hunger Games Trilogy, Divergent หรือผลงานของ Haruki Murakami เป็นต้น ในส่วนของหนังสือเสียงนั้นก็ยังได้นักแสดงชื่อดังอย่างเช่น Meryl Streep กับ Blythe Danner มาอ่านผลงานเขียนของ John Cheever เป็นต้น และยังได้คัดเลือกนักพากย์ระดับรางวัลหลายคน มาให้เสียงในหนังสือหลายเล่มอีกด้วย
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะบริษัทต้องการเพิ่มความคุ้มค่าให้กับลูกค้า เพราะทางอเมซอนก็มี Kindle Unlimited ซึ่งจะมีอีบุ๊คให้สมาชิกได้อ่านอย่างไม่จำกัดเช่นกัน และอเมซอนดูจะมีภาษีดีกว่าก็ตรงที่มีคลังหนังสือขนาดใหญ่กว่ามาก การปรับตัวโดยเอาบริการหนังสือเสียงเข้ามาเสริม จึงเป็นกลยุทธ์ในการเพิ่มสมาชิกที่ดีวิธีหนึ่ง ทั้งนี้ก็เพราะว่าหนังสือเสียงนั้นราคาแพงมาก (อ่านเพิ่มเติม: หนังสือเสียง ตอนที่ 2 วิธีฟัง Audiobook ฟรี ๆ) การที่บริษัทหันมาเพิ่มออดิโอบุ๊คเข้าไปในคอลเล็คชั่น แถมยังไม่เพิ่มค่าบริการแบบนี้ จึงนับว่าเป็นโปรโมชั่นที่ดึงดูดใจสุด ๆ ปัจจุบันบริการในส่วนของหนังสือเสียงเปิดให้ผู้ใช้ระบบ Android ได้ใช้กันแล้ว ส่วนผู้ใช้ iOS ตอนนี้คงต้องรอไปก่อน
อ้างจากบทความของ Juli Monroe แห่ง teleread.com ซึ่งใช้บริการ Kindle Unlimited อยู่ กำลังคิดว่าจะหันไปใช้อีกเจ้าน่าจะคุ้มกว่า เพราะมีให้เลือกฟังหนังสือถึง 30,000 เรื่อง ขณะที่บริการ Kindle Unlimited ที่เธอใช้อยู่นั้นมีอีบุ๊คให้เลือกมากกว่าก็จริง แต่มีหนังสือเสียงพ่วงไปด้วยแค่ 2,000 กว่าเรื่องเท่านั้น
Source: teleread.com , the-digital-reader.com
ก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงอีบุ๊คประเภท หนังสือเสียง ว่าราคาค่อนข้างแพงและได้แนะนำวิธีฟัง Audiobook (ออดิโอบุ๊ค) ที่ผลิตขึ้นได้อย่างมีมาตรฐานจาก Audible ฟรี ๆ กันไปแล้ว สำหรับใครที่ติดใจหนังสือเสียงเข้าแล้วแต่ยังติดอยู่ที่กระเป๋าตังค์ไม่อำนวยกับความต้องการ วันนี้เรามีบริการใหม่มาแนะนำ นั่นคือ มีเว็บที่ขายหนังสือเสียงออนไลน์ได้แตกไลน์เปิดบริการให้เช่าฟังหนังสือเสียงกันได้แล้ว โดยที่บริการให้เช่าฟังหนังสืออิเล็คทรอนิกส์ดังกล่าวเป็นของเว็บไซต์ Downpour.com
เป็นที่ทราบกันว่าเว็บ Audible เป็นผู้นำในการขายหนังสือเสียงออนไลน์ในสหรัฐ อย่างไรก็ตามยังมีเว็บอื่น ๆ ที่ได้เสนอตัวมาเป็นทางเลือกให้ผู้อ่านและผู้ฟังได้มากขึ้น อย่างเช่นล่าสุดเว็บไซต์ Downpour.com ได้เสนอบริการให้เช่าฟังหนังสือเสียง โดยมีระยะเวลาการเช่ายืมอยู่ที่ 30 ถึง 60 วัน ปัจจุบัน Downpoor มีหนังสือเสียงวางจำหน่ายอยู่ราว ๆ 30,000 เรื่อง และก็มีหนังสือเสียงให้เช่าอยู่ราว 8,000 เรื่อง ถ้าหากใครสนใจก็ลองเข้าไปแวะชมที่เว็บดังกล่าวได้ที่ downpoor.com รวมถึงสามารถโหลด App สำหรับฟังหนังสือเสียงจาก App Store ได้ที่ Downpour App Store และจาก Google Play Store ได้ที่ Downpour Audiobook App
แม้ว่าจะไม่ค่อยถูกใจกับอีบุ๊คประเภทหนังสือเสียงสักเท่าไหร่แต่หลังจากไปลองโหลดแอพ Downpoor มาเรียบร้อย จึงถือโอกาสรีวิวแอพอ่านหนังสือเสียงตัวนี้แบบสั้น ๆ ดูเสียเลย อย่างแรกที่เห็นได้ชัดก็คือหน้าตาและฟีเจอร์การใช้งานต่าง ๆ นั้นแทบจะโขลกออกมาเป็นแบบเดียวกันกับ Audiobook App ตัวอื่น ๆ อย่างเช่น Audible และ LibriVox เป็นต้น ซึ่งตรงนี้น่าจะนับเป็นข้อดีเพราะสะดวกต่อผู้ใช้งานทำให้ไม่ต้องเสียเวลาไปหาวิธีใช้ให้วุ่นวายเพิ่มไปอีก สำหรับแอพ Downpoor ตัวนี้ก็ใช้งานคล้าย ๆ กับแอพตัวอื่น นั่นคือ มีให้เลือกตั้ง Sleep Timer สำหรับตั้งเวลาปิดเสียงอ่านได้ , สร้าง Bookmark เพื่อกลับไปฟังตอนที่ชอบซ้ำก็ได้ และสามารถเลือก Play Speed สำหรับตั้งความเร็วในการอ่าน เป็นต้น
สำหรับคนที่อยากทดลองการใช้งานแอพฟรี ๆ ดูก่อนก็สามารถเปิดใช้งานได้เลยโดยที่ยังไม่ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิก และทางเว็บก็ยังมีหนังสือเสียงให้ฟังฟรี 1 เล่มด้วยกัน (จากล่าสุดที่เข้าไปดู) คือ เรื่อง The Adventures of Tom Sawyer (อย่างที่เคยเขียนไปข้างต้นว่าหนังสือเสียงค่อนข้างแพงเอาการ ดังนั้นการได้หนังสือเสียงที่ผ่านการผลิตอย่างมีมาตรฐานมาฟังฟรี ๆ ก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย)
[box]บทความที่เกี่ยวข้องPhoto Credit: downpoor.com
Source: the-digital-reader.com
ก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงอีบุ๊คประเภทหนังสือเสียงหรือที่เรียกกันว่า Audiobook กันไปแล้ว ซึ่งเพื่อนนักอ่านก็คงจะทราบว่าโดยส่วนใหญ่แล้วตลาดหนังสือเสียงยังคงอยู่ในวงจำกัดและส่วนใหญ่จะเป็นภาษาอังกฤษสำหรับอีบุ๊คภาษาไทยนั้นยังไม่มีมาตรฐานในการจัดทำหนังสือเสียงแต่อย่างใด สำหรับบทความนี้เรามีทริคเล็กๆ น้อย ๆ เพิ่มเติมสำหรับผู้ที่สนใจทดลองฟังหนังสือเสียง อย่างเช่น วิธีการฟังหนังสือเสียงจาก Audible ฟรี ๆ , การใช้เสียงอ่านจาก Google Play Books ให้มีเสียงที่น่าฟังขึ้น และการให้ iPad อ่านหนังสือให้เราฟังเวลาขี้เกียจอ่านหนังสือขึ้นมาค่ะ
ก่อนอื่นหากผู้อ่านยังไม่คุ้นเคยหรือรู้จักกับ Audible เท่าไหร่นัก ขอแนะนำให้ย้อนกลับไปอ่านบทความเรื่อง หนังสือเสียง กันก่อนเพื่อเข้าใจการใช้งาน App Audible ได้มากขึ้นค่ะ
สำหรับ App Audible แล้วก็อย่างที่ได้เคยเขียนไว้ในบทความก่อนหน้านี้นั่นคือ ค่อนข้างจำกัดอยู่ที่พวกหนังสือขายดีติดอันดับ Bestseller หรือไม่ก็เป็นหนังสือที่ทางอเมซอนคัดมาแล้วว่าน่าจะขายได้แน่ ๆ เป็นหนังสือดีที่ควรอ่านประมาณนั้น ข้อจำกัดดังกล่าวอาจจะมาจากต้นทุนการผลิตหนังสือเสียงนั้นค่อนข้างสูง เพราะใช้เสียงคนอ่านจริง ๆ จึงทำให้ราคาของหนังสือเสียงนั้นแพงเอามาก ๆ แม้ในตลาดต่างประเทศที่อีบุ๊คค่อนข้างราคาถูก ก็ยังต้องอาจยกเว้นหนังสือเสียงเอาไว้สักประเภทหนึ่ง ดังนั้นถ้าหากใครคิดจะลองซื้อหนังสือเสียงมาฟังดู คงจะต้องคิดแล้วคิดอีกเพราะเอาไปซื้ออีบุ๊คธรรมดาได้ตั้งเกือบ 3 เล่มกันเลย อย่างไรก็ตามเราก็มีวิธีอ่านออดิโอบุ๊ค (หนังสือเสียง) จากการใช้ App Audible กันได้ฟรี ๆ ด้วยเหมือนกัน แต่ของแพง ๆ เขามีให้ใช้ฟรีได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นนะคะ โดยที่หลังจากที่สมัครแล้ว ก็เลือกหนังสือเสียงที่ต้องการได้เลย หลังจากนั้นก็ฟังจาก App Audible ได้เลย
ขั้นแรกเราก็ต้องมีบัญชีกับทาง Amazon ก่อน วิธีการสมัครก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพียงแค่ใส่ข้อมูลของเราเข้าไปตามขั้นตอน และสำหรับการให้ข้อมูลในการใช้จ่ายเราก็เลือกได้ว่าจะใส่ข้อมูลบัตรเครดิตก็ได้ หรือจะใส่เป็นบัตรเดบิตที่ใช้สำหรับทำ Internet Banking ก็ได้ (เช่นบัตรเดบิต Be1st ของธนาคารกรุงเทพฯ) สำหรับ Paypal ไม่สามารถใช้งานได้เพราะเจ้าของ Paypal คือ Ebay ไม่ได้ร่วมมือกับ Amazon ให้เราใช้งานได้สะดวกแต่อย่างใด 🙁
หลังจากนั้นเราก็ไปที่เว็บ Audible.com เลือกที่ GET MY FREE AUDIOBOOK
จากนั้นก็ใส่ข้อมูลบัตรเครดิตลงไปแล้ว (ทางที่ดีควรใส่ข้อมูลตั้งแต่ในหน้าเว็บ Amazon เพราะบางครั้งเวลาใส่ข้อมูลการจ่ายเงินที่ Audible ก็ไม่ผ่าน ซึ่งไม่แน่ใจว่าเพราะอะไรเหมือนกัน) จากนั้นก็ไปเลือกที่ Cart (ตะกร้าสินค้า) เราก็จะได้สิทธิ์ทดลองใช้งานเป็นสมาชิกฟรี 30 วัน โดยที่ได้สิทธิ์ในการเลือกหนังสือ 1 เล่ม เราก็ไปเลือกซื้อหนังสือที่หมายตาเอาไว้ได้เลย เราก็จะเป็นเจ้าของหนังสือเสียงเล่มนั้นทันที แม้จะยกเลิกสมาชิกไปแล้วเราก็ยังโหลดหนังสือเล่มดังกล่าวมาฟังได้ตลอด
จากนั้นเราจึงค่อยไปยกเลิกสมาชิก เพราะถ้าไม่ยกเลิกทางอเมซอนจะต่ออายุสมาชิกให้เองโดยอัตโนมัติ วิธีการยกเลิกสมาชิกให้เข้าไปดูอีเมล์ เมื่อเราสมัครสมาชิกจะมีอีเมล์ต้อนรับและท้าย ๆ ของอีเมล์จะมี Link ให้เราเลือกกด cancel your membership ให้เราเลือกกดที่ตรงนี้ จากนั้นก็จะพาเราไปยังหน้าที่ยกเลิกสมาชิก แต่อเมซอนเป็นเว็บ E-Commerce ระดับต้น ๆ ของโลก เวลาที่เราจะยกเลิกบริการทางเว็บจะเสนอทางเลือกอื่น ๆ ให้ เช่นลดราคาสมาชิกลงบ้างและอื่น ๆ อีกมากมาย ถึงตรงนี้ถ้าใครอยากทดลองฟังหนังสือเสียงดูก่อนก็ให้ทำใจแข็งแล้วยกเลิกไปเลย เพราะหากเราติดใจหนังสือเสียงเข้าจริง ๆ จะย้อนกลับมาสมัครอีกครั้งก็ยังคงทำได้ตลอด
ในบทความก่อนหน้านี้ เราได้พูดถึงฟีเจอร์ของ App Google Play Books ว่าสามารถอ่านหนังสือให้เราฟังได้แต่ที่ทำให้แอดมินไม่ค่อยชอบใจนัก ก็เป็นเพราะว่าเสียงอ่านนั้นมันทั้งห้วนทั้งเร็ว พูดง่าย ๆ ว่าอ่านเองท่าจะง่ายกว่า แต่ในบทความนี้เรามีวิธีที่จะให้แอพดังกล่าวอ่านหนังสืออีบุ๊คให้เราฟังได้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ๆ และก็ยิ่งดีไปอีกเมื่อทำได้ฟรี ๆ แต่ข้อจำกัดก็คือเรายังฟังได้แค่เสียงอ่านภาษาอังกฤษอยู่ (อาจจะมีภาษาหลักอื่น ๆ ด้วยแต่ยังไม่มีภาษาไทย)
ขั้นแรกให้เราไปที่กูเกิ้ลเพลย์สโตร์ แล้วดาวน์โหลด App ที่ชื่อ IVONA Text-to-Speech HQ จากนั้นเราก็เลือกสำเนียงคนอ่านแบบอเมริกัน ที่ IVONA Kendra US English แล้วทำการติดตั้งแอพทั้งสองตามปกติ เมื่อ Install App เรียบร้อยแล้ว ให้เข้าไปที่ Setting แล้วเลือกที่ Language & Input จากนั้นให้กดเลือกที่ Text-to-speech output
หน้าจอจะเข้าไปที่เมนู PREFERRED ENGINE ให้เราเลือกที่ IVONA Text-to-Speech HQ แทนที่ Google Text-to-speech Engine (เพราะเสียงไม่น่าฟัง)
จะมีคำเตือนขึ้นมาว่า App ตัวนี้จะเก็บข้อมูลที่ถูกอ่านเอาไว้ ถ้าหากพวกข้อมูลด้านความปลอดภัยอย่างเช่น พาสเวิร์ดหรือเลขบัตรเครดิต ถูกเปิดอ่านขึ้นมา App ตัวนี้ก็บันทึกข้อมูลเอาไว้ด้วย ในกรณีนี้เราใช้เพื่ออ่านหนังสืออย่างเดียวโดยไม่ให้อ่านออกเสียงข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ จึงกดเลือกที่ OK
จากนั้นเราก็ไปเปิดแอพ Google Play Books แล้วเปิดอีบุ๊คที่ต้องการอ่านแล้วเลือกไปที่ Read aloud ตัวโปรแกรมก็จะอ่านอีบุ๊คให้เราฟังด้วยเสียงที่ดีกว่า Google Text-to-speech Engine อย่างมาก ถ้าต้องการให้ยกเลิกการอ่านก็ให้กดที่หน้าจออีกครั้งแล้วเลือก Stop reading aloud
ข้ามมาในฝั่งของ iOS นั้นก็สามารถทำให้ iPad (ไอแพด) อ่านหนังสือให้ฟังได้เช่นกัน โดยที่สามารถอ่านหน้าเว็บต่าง ๆ ก็ได้และก็ยังสามารถอ่านอีบุ๊คจาก iBooks ให้เราฟังได้อีกด้วย ข้อดีอีกอย่างก็คือฟีเจอร์ตัวนี้ยังอ่านภาษาไทยให้เราฟังได้อีกด้วย โดยที่เราต้องเข้าไปตั้งค่าก่อน ให้เลือกที่ Setting
แล้วเลือก Accessibility
แล้วเลือก Speech
แล้วเลือก Speak Selection
เลือก Speak Rate
เมื่อตั้งค่าเสร็จเรียบร้อย เราก็ไปทดสอบการอ่านออกเสียงของไอแพดกันได้เลย เริ่มกันที่เว็บภาษาไทยก่อน จะเห็นได้ว่าออกเสียงแบบหุ่นยนต์เอามาก ๆ แต่ก็พอฟังได้
คราวนี้ไปฟังการออกเสียงภาษาอังกฤษของไอแพดกันบ้าง เท่าที่ฟังจะรู้สึกได้ว่าออกเสียงได้พอ ๆ กับ Google Text-to-speech Engine คือไม่ค่อยน่าฟังเท่าไหร่นัก (แต่เรามีวิธีให้ Google Play Books อ่านออกเสียงได้เพราะขึ้นมาแล้ว ตามวิธีด้านบน)
การตั้งค่า Text-to-speech ยังทำให้ไอแพดอ่านออกเสียงเป็นภาษาอื่น ๆ ที่เราต้องการได้ด้วย อย่างเช่นในตัวอย่างนี้เราให้ไอแพดออกเสียงภาษาอังกฤษ สเปน และฝรั่งเศส
คราวนี้เรามาทดสอบให้ไอแพดอ่านอีบุ๊คให้เราฟังจาก App iBooks กันดูบ้าง โดยเริ่มที่ภาษาไทยกันก่อน
มาฟังไอแพดอ่านอีบุ๊คภาษาอังกฤษกันบ้าง
นอกจากไฟล์ประเภท ePub แล้ว App อ่านหนังสืออย่าง iBooks ก็สามารถเปิดอ่านไฟล์ประเภท PDF ได้ด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วสำหรับไฟล์ PDF เราจะไม่สามารถแก้ไขหรือคัดลอกได้เลยไม่ว่าจะเป็นการเขียน Note หรือทำ Highlight ต่าง ๆ ก็ตาม อย่างไรก็ดีไอแพดก็ยังสามารถอ่านข้อความที่แทรกอยู่ในแผนที่ในรูปแบบ PDF ให้เราฟังได้อีกด้วย
[box]Note : สำหรับอีบุ๊คภาษาไทยยังไม่มีมาตรฐานเรื่องการทำหนังสือเสียง แต่ล่าสุดในงานสัปดาห์หนังสือ 2557 ทาง Ookbee ก็ได้เปิดตัวหนังสือเสียงของไทยแล้ว โดยมีหนังสือนิยายและอื่น ๆ ออกมา[/box] [box]บทความที่เกี่ยวข้องPhoto Credit: The Preiser Project
เมื่อสมัยที่แอดมินเป็นยังเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถม (โปรดอย่าถามว่ากี่ปีมาแล้ว!) คุณครูท่านนึงเคยบอกเคล็ดลับการสอบให้ได้คะแนนดี ๆ ทั้งที่ ขี้เกียจอ่านหนังสือ โดยท่านเล่าว่าท่านจะต้องอยู่หอพักและเมื่อถึงเวลาช่วงสอบ นักเรียนแต่ละคนก็มาติวหนังสือสอบและอ่านหนังสือทบทวนความรู้กัน แต่สำหรับอาจารย์ท่านนั้นใช้วิธี เมพขิงๆ ก็คือ นอนฟังคนอื่น (หลาย ๆ คน) อ่านและทบทวนความรู้กัน ทีนี้พอถึงเวลาสอบกลับกลายเป็นตัวคุณครูที่ได้คะแนนดีไปเสียทุกที จนเพื่อนงงว่าไปแอบซุ่มตอนไหน
จะว่าไปโรคขี้เกียจอ่านหนังสือนี่ ก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะตอนเป็นนักเรียนเท่านั้น แอดมินเชื่อว่า เพื่อนนักอ่านหลายคนก็คงเป็นกันอยู่บ้างเหมือนกัน โชคดีที่ปัจจุบันสื่อหนังสืออิเล็คทรอนิคส์ (eBook) พัฒนาไปได้ไกลจนเรามีอีบุ๊คจำพวกมัลติมีเดีย ซึ่งสามารถแสดงผลทางภาพ เสียงและเอฟเฟคต่าง ๆ ได้มากมายเท่าที่จะจินตนาการได้ โดยเฉพาะหนังสืออ่านสำหรับเด็กแล้วมีให้เลือกกันมาก โดยเฉพาะใน iBooks ซึ่งซัพพอร์ท Multimedia eBook ได้ดีกว่าเจ้าอื่น ๆ แต่ถ้าหากจะเอากันที่เนื้อหาเน้น ๆ ไม่เอาลูกกวาดน้ำตาลที่เคลือบมาเพื่อล่อให้เด็ก ๆ อ่านหนังสือแล้ว ปัจจุบันก็มีตลาดที่วางขายหนังสือเสียงกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันและก็มีผู้ติดตามสื่อชนิดที่เรียกว่า Audiobook (หนังสือเสียง) อยู่เป็นกลุ่มไม่น้อยทีเดียวสำหรับในตลาดต่างประเทศ
สำหรับในไทยเราเอง เมื่อเอ่ยถึงหนังสือเสียงแล้ว ก่อนหน้าที่อีบุ๊คจะเริ่มแพร่หลาย เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะนึกถึง หนังสือเสียงสำหรับคนตาบอดฟัง หรือไม่ก็อาจจะเป็นหนังสือเสียงเพชรพระอุมาที่ทำกันเองในหมู่แฟน ๆ หรือจำพวกหนังสือเสียงธรรมะ เป็นต้น และล่าสุดเท่าที่ทราบก็คือ หนังสือเสียง-ซีรีส์คบบัณฑิตติดรถฟังของคุณบัณฑิต อึ้งรังษี ที่ทำขายในรูปแบบที่บันทึกลง CD ซึ่งจะเห็นได้ว่าหนังสือเสียงยังคงจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่ม และยังไม่ได้มีมาตรฐานการบันทึกเสียงหรือใช้เครื่องมืออะไรฟัง เพราะส่วนใหญ่ก็เป็นการบันทึกเทปลงสื่อแล้วเปิดฟังด้วย mp3 แล้วก็ download ไปฟังกันเอง
แต่ปัจจุบันหนังสือเสียงมีให้เลือกอ่าน (ฟังมากขึ้น) และมีหลายเว็บไซต์ที่ให้บริการดาวน์โหลดหนังสือเสียงออนไลน์ อย่างเช่น Audible, LibriVox รวมถึง เว็บดาวน์โหลดหนังสือเสียงอื่น ๆ แต่ก็อย่างที่หลายคนคงจะทราบดีว่า ร้อยทั้งร้อย ยังไม่มีภาษาไทยให้ฟัง อย่างไรก็ตามเราสามารถดาวน์โหลดหนังสือเสียงภาษาอังกฤษมาฟังได้ โดยเฉพาะใน LibriVox ซึ่งมีหนังสือวรรณกรรมให้ฟังได้ฟรี โดยเค้าจะมีอาสาสมัครมาอ่านให้ฟัง ซึ่งแอดมินก็ได้ฟังอยู่บ้าง สำหรับนิยายบางเรื่องที่ขี้เกียจอ่านจริง ๆ เลยขอฟังดูก่อน และคุณภาพในการอ่านนั้นก็ถือว่าเยี่ยมเลยที่เดียวค่ะ จากที่ได้ลองฟังมา 3-4 เล่ม (เยอะมาก!) ถ้าใครสนใจก็ลองโหลดแอพ LibriVox มาฟังกันดูค่ะ ข้อเสียอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อมันเป็นของฟรีการจัดระเบียบหนังสือในแอพจึงไม่ดีเท่าไหร่ เมื่อใช้ไปสักพักแล้วถ้าหากสนใจ Audiobook แบบจริง ๆ จัง ๆ ก็คงจะต้องหันไปหาแอพที่มีทางเลือกมากกว่านั้น นั่นก็คือ Audible ซึ่งเป็นของ Amazon นั่นเอง
แอพ Audible เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้นิยมฟังหนังสือมากกว่าอ่านหนังสือ โดยสามารถเข้าไปดู Audible Audiobooks กันได้ ที่นี่ จะเห็นได้ว่า ด้วยความที่ตลาดยังจำกัดอยู่เพราะฉะนั้นจึงมีหนังสือให้ไม่มากเท่ากับอีบุ๊คแบบธรรมดาทั่วไป นอกจากนี้ถ้าหากใครที่มีอีบุ๊คอยู่ในแอพ Kindle อยู่แล้ว และอยากจะอัพเกรดให้หนังสือของเรามีฟังค์ชั่นแบบ Audiobook ด้วย ก็สามารถเข้าไปดูที่ Kindle Books with Audio Companions ได้ ถ้าหากใครยังนึกไม่ออกให้ลองดูวิดีโอข้างล่างค่ะ จะแสดงให้เห็นว่า เราสามารถเปลี่ยนโหมดได้ว่าจะฟังหรือจะอ่านหนังสือเล่มนั้น โดยที่ทั้งสองโหมดจะทำการ sync ให้อัตโนมัติว่าเราได้อ่านถึงไหนแล้ว แหมสะดวกจริง ๆ
จะเห็นได้ว่าหนังสือบางเล่มจะมีขายเป็น Audiobook อย่างเดียว แต่บางเล่มก็ทำเป็นทั้งอีบุ๊คธรรมดาและเป็นอีบุ๊คเสียงพ่วงไปด้วย (แต่ก็มีบ้างเหมือนกันที่มีขายทั้ง Audiobook และ eBook แยกกัน โดยที่ไม่มีให้ sync กัน ทำให้คนซื้อต้องซื้อแยกทั้งสองฟอร์แมท)
ถ้าหากใครซื้อประเภทหลังก็จะฟังเสียงอ่านหนังสือได้จากสองทาง คือ จากแอพ Kindle แล้วทำการสลับโหมดอ่าน-ฟัง ได้ตามใจ โดยที่ขณะที่ให้หนังสือเสียงอ่านให้เราฟัง เราก็สามารถเปิดอ่านไปด้วยก็ได้ ซึ่งเหมาะอย่างมากสำหรับคนที่ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง!
และอีกทางหนึ่งก็คือฟังจากแอพ Audible ตรง ๆ แต่การฟังด้วยแอพ Audible จะไม่มีตัวหนังสือให้อ่านนะคะ เพราะตรงนี้คือเป็นฟอร์แมทแบบ Audiobook ค่ะ
นอกจากนี้ผู้ใช้ Audible ยังฟังหนังสือเสียงจากคอมพิวเตอร์ได้อีกด้วย โดยฟังจากระบบ Cloud ของอเมซอน
อย่างที่ได้เขียนไปแล้วว่าหนังสือเสียงก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงหนังสือได้เพิ่มอีกทางหนึ่ง แต่สำหรับแอดมินแล้วก็ยังชอบที่จะอ่านอีบุ๊คธรรมดามากกว่าอยู่ดี ทำไมนะเหรอ ตอบตรง ๆ ก็คือ แพง! เท่าที่ได้ไปลองสำรวจราคามาแล้ว Audiobook ยังราคาสูงกว่าอีบุ๊คธรรมดาอยู่มาก คือเกือบ ๆ สามเท่าเลยก็ว่าได้ และนอกจากนั้นอย่าลืมว่า หนังสือเหล่านี้ใช้คนจริงๆอ่านให้ฟัง เพราะฉะนั้นเราอาจจะชอบหรือไม่ชอบสไตล์การอ่านของแต่ละคนก็เป็นได้ สำหรับแอดมินเองนั้นถ้าหากเป็นหนังสือนิยายก็ยังนิยมอีบุ๊คมากกว่า เพราะเวลาฟังหนังสือเสียงแล้วมันจะดราม่าเกินไป รู้สึกเหมือนฟังละครวิทยุอะไรทำนองนั้นไป และรู้สึกเราจะเสียพลังงานไปกับอารมณ์ที่คนอ่านพยายามจะบิ้วซึ่งหลาย ๆ ครั้งก็ฟังดูแล้ว ‘ตลก’ มากกว่าจะ ‘อิน’ แต่ถ้าหากเป็นหนังสือจำพวก How To หรือหนังสือประเภท Business Guide ก็ถือว่ายังรับได้ ถ้าหากคนอ่านเป็นเจ้าของหนังสือ เวลาฟังเราก็จะได้อีกความรู้สึกหนึ่งคือ เหมือนมีคนมาเล็คเชอร์ให้ฟัง และส่วนตัวก็ยังคิดว่าฟังแล้วไม่ขัดหูเท่ากับจำพวกนิยาย แต่อย่างไรก็ตามด้วยความที่หนังสือเหล่านั้นเป็นภาษาอังกฤษจึงทำให้เรามีอคติแบบเอียง ๆ ไปบ้าง แต่ถ้าหากมีหนังสือนิยายไทยลองทำเป็นหนังสือเสียงดูบ้าง แอดมินก็อาจจะอินบ้างก็ได้ค่ะ เพราะก็เคยฟังละครวิทยุของคณะเกศทิพย์ก็รู้สึกว่ามันก็ได้อีกอารมณ์ดีเหมือนกัน
ได้สิ! หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่าแอพอย่าง Google Play Books ก็สามารถอ่านหนังสือให้เราฟังได้เช่นกัน โดยให้กดไปที่ Setting แล้วเลือก Read aloud จากนั้นตัวแอพลิเคชั่นก็จะอ่านหนังสือให้เราฟังเอง แต่ขอสารภาพตามตรงว่าเสียงอ่านนั้นไม่น่าฟังและอ่านเร็วเกินไป ส่วนตัวจึงขอข้ามฟังค์ชั่นนี้ไป และอีกอย่างก็คือยังไม่สนับสนุนภาษาไทยด้วยค่ะ นอกเหนือจาก Google Play Books แล้ว ตัวโปรแกรมฟรีที่อ่านหนังสือได้น่าฟังก็คือ ฟังค์ชั่นเสริมของ Amazon Kindle ซึ่งทางอเมซอนเค้าสงวนไว้ให้ผู้ใช้แท็บเล็ต Kindle Fire และก็ผู้ใช้อีรีดเดอร์ของคินเดิ้นเท่านั้น โดยส่วนตัวแล้วชอบฟังค์ชันนี้มากที่สุดในตัวเลือก Audiobook ทั้งหมด เพราะเสียงอ่านนุ่มนวลเป็นจังหวะสม่ำเสมอ เสียงน่าฟัง แม้ว่าจะฟังดูเป็นหุ่นยนต์ไปบ้างก็ไม่เป็นไรเพราะไม่ทำให้เสียสมาธิ ต่างจากพวกหนังสือข้างต้นที่ใช้คนอ่านซึ่งออกจะติดดราม่าไป
[box]บทความที่เกี่ยวข้องPhoto Credit : Philippe Put @flickr